การเตรียมตัวสอบกรมควบคุมมลพิษ
คำแนะนำในการสอบกรมควบคุมมลพิษ
ในการสอบเข้ากรมควบคุมมลพิษ การสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ก่อน แต่ถ้าสอบเป็นพนักงานราชการไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ. ซึ่งในการสอบจะมีวิชาความสามารถทั่วไปเพิ่มเข้ามาด้วย การสอบเข้ากรมควบคุมมลพิษ จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 โดยการสอบข้อเขียน ครั้งที่ 2 โดยการสัมภาษณ์ และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
การเตรียมตัวสอบ
ความสามารถทั่วไป ให้หาข้อสอบเก่ามาลองฝึกดู aptitude test มีหนังสือขายหรือไม่ก็ลองหาออนไลน์มาทำดู เอาแบบที่มีเฉลยวิธีทำจะได้เข้าใจในหลักการ ปกติจะมีพาร์ทการคำนวน ภาษาและตรรกะ ถ้าเวลาเตรียมตัวน้อยให้เน้นไปที่ส่วนถนัดไว้ก่อน ถ้ามีเวลามากก็ให้เน้นทำส่วนที่เราไม่ถนัด ควรหัดทำข้อสอบคณิตทุกวัน แล้วก็ภาษาไทยด้วยแต่จะเน้นไปทางคณิตมากกว่าเพราะถ้าคิดถูกแล้วจะได้คำตอบเลย ส่วนภาษาไทย ข้อสอบมันไม่ยากแต่โจทย์มันยาว ทำให้เวลาสอบแล้วกลัวว่าจะทำไม่ทันตอนอ่านหนังสือจำได้ตอนนั้นลองจับเวลาทำด้วยถ้าทำจริงจะทำทันไหม
ภาษาอังกฤษ (สำหรับบางหน่วยงาน) ส่วนใหญ่ถ้าเป็น choice ก็ grammar เลย หนังสือม.ปลาย หรือ toeic ก็ได้ ถ้าเป็นหน่วยงานที่ใช้ภาษาเยอะ ก็จะมีข้อสอบอัตนัยให้เขียนเรียงความหรือตอบข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ
ในส่วนการสอบภาค ข. ควรอ่านวิชาเฉพาะตำแหน่งให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้ ฝึกทำข้อสอบเก่า โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
การสอบของกรมควบคุมมลพิษข้อสอบจะเป็นอัตนัย ไม่ใช่ปรนัย ข้อสอบมี 4 ข้อ 200 คะแนน บางตำแหน่งก็มีช้อยส์สลับกับอัตนัยบ้าง
ยกตัวอย่างได้ดังนี้ คือ
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการ ถามหนังสือทั้งหมดมีกี่ชนิด แล้วให้ร่างจดหมายตอบกลับไปสำนักงาน ก.พ. ในส่วนของช้อยส์ไม่ยากมาก
ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล
1. ให้อธิบายความหมายการบริหารงานบุคคล การพัฒนาทรัพยากรบุคคล และอนาคตการบริหารงานบุคคลจะเป็นไปแนวทางใด
2. ให้อธิบายพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนข้อปฎิบัติมีกี่ข้อ ข้อห้ามมีกี่ข้อ
3. ให้อธิบายขั้นตอนการประเมินการปฎิบัติงานของบุคคลเป็นอย่างไร และวิธีการให้รางวัลกับพนักงานที่ตั้งใจทำงานมีวิธีการอย่างไร (ประมาณนั้น)
4.ในฐานะที่ท่านได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดฝึกอบรมบุคลากร ท่านจะดำเนินการอย่างไร ให้อธิบายมาโดยละเอียด
การสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน
ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ
1. ให้แนะนำตัวเอง
2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ
3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
การสอบสัมภาษณ์ สำหรับผู้ชายควรโกนหนวดเคราให้เรียบร้อย ผู้หญิงเสื้อผ้าหน้าผมต้องเยี่ยม แนะนำให้สวมสูทด้วยจะดูดีมีระดับ แต่ไม่ควรแต่งหน้าแบบงานรับปริญญาเป็นเจ้าป้าโดยเด็ดขาด คำถามที่จะโดนถาม ส่วนใหญ่จะเป็นประมาณ ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่ง ความรู้เกี่ยวกับกรมฯ ประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน รอบแห่งการสอบภาค ค. หรือรอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง เป็นรอบที่ต้อง อาศัยกำลังภายใน รอบนี้ต่างหาก ที่ต้องระมัดระวังบรรดา เด็กเส้น เด็กฝากทั้งหลาย เป็นรอบแห่งการวิ่งเข้าหาผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ในกระทรวง กรม กอง ต้องรีบนำกระเช้าของขวัญติดไม้ติดมือ ไปกราบไหว้ท่านโดยด่วน ให้ท่านเอ็นดู อุปการคุณ
เนื่องจากคะแนนสอบในภาคนี้ มีประมาณกึ่งหนึ่งของคะแนนข้อเขียน และค่อนข้างมีผลชี้เป็น ชี้ตาย ชี้ได้ ชี้ไม่ได้ วันประกาศผลจะเรียงคะแนนตามลำดับมากไปหาน้อย ต้องรอลุ้นอย่างระทึกใจ ทั้งนี้ในประกาศรับสมัครจะบอกว่ารับจำนวนเท่าใด หากติดลำดับที่เรียกบรรจุในครั้งแรก จะมีหนังสือเรียกตัวไปบรรจุ แต่หากไม่ได้รับการบรรจุในรอบแรก ต้องคอยติดต่อข่าวสารอย่างตลอด บัญชีการสอบแข่งขันจะมีอายุประมาณ 2 ปี กรณีได้การบรรจุในรอบแรก ต้องเตรียมหลักฐานทั้งตัวจริงและสำเนาไปให้พร้อม อันจะได้แก่ ใบรับรองแพทย์ ใบปริญญาบัตร ใบแสดงผลการเรียน ใบทะเบียนสมรส ทั้งคู่สมรส และของบิดา มารดา ขั้นตอนการบรรจุ จะต้องกรอกเอกสาร กพ.7 ซึ่งเปรียบเสมือนทะเบียนประวัติของตัวเราเอง ในวันนั้นอาจจะมีการปฐมนิเทศ ภารกิจของกรมฯ สิทธิผลประโยชน์ที่พึงได้ สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร การทดลองราชการ ระเบียบการลา ฯลฯ
วิชาที่ใช้สอบ มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ( 200 คะแนน )
2. การสอบสัมภาษณ์ ( 100 คะแนน ) เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
รายละดอียดวิชาที่สอบ
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมควบคุมมลพิษ
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมควบคุมมลพิษ
3 กฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการ กรมควบคุมมลพิษ
4 พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
5 การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของประชาชน
6 แนวข้อสอบ พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
7 ถาม - ตอบ เกี่ยวกับปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม
8 ถาม - ตอบ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
9 ถาม – ตอบ มลพิษทางน้ำ
10 แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับมลพิษอากาศ
11 แนวข้อสอบนักวิชาการสิ่งแวดล้อม
12 การเตรียมตัวสอบภาค ค.กรมควบคุมมลพิษ
ในการสอบเข้ากรมควบคุมมลพิษ การสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ก่อน แต่ถ้าสอบเป็นพนักงานราชการไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ. ซึ่งในการสอบจะมีวิชาความสามารถทั่วไปเพิ่มเข้ามาด้วย การสอบเข้ากรมควบคุมมลพิษ จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 โดยการสอบข้อเขียน ครั้งที่ 2 โดยการสัมภาษณ์ และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
การเตรียมตัวสอบ
ความสามารถทั่วไป ให้หาข้อสอบเก่ามาลองฝึกดู aptitude test มีหนังสือขายหรือไม่ก็ลองหาออนไลน์มาทำดู เอาแบบที่มีเฉลยวิธีทำจะได้เข้าใจในหลักการ ปกติจะมีพาร์ทการคำนวน ภาษาและตรรกะ ถ้าเวลาเตรียมตัวน้อยให้เน้นไปที่ส่วนถนัดไว้ก่อน ถ้ามีเวลามากก็ให้เน้นทำส่วนที่เราไม่ถนัด ควรหัดทำข้อสอบคณิตทุกวัน แล้วก็ภาษาไทยด้วยแต่จะเน้นไปทางคณิตมากกว่าเพราะถ้าคิดถูกแล้วจะได้คำตอบเลย ส่วนภาษาไทย ข้อสอบมันไม่ยากแต่โจทย์มันยาว ทำให้เวลาสอบแล้วกลัวว่าจะทำไม่ทันตอนอ่านหนังสือจำได้ตอนนั้นลองจับเวลาทำด้วยถ้าทำจริงจะทำทันไหม
ภาษาอังกฤษ (สำหรับบางหน่วยงาน) ส่วนใหญ่ถ้าเป็น choice ก็ grammar เลย หนังสือม.ปลาย หรือ toeic ก็ได้ ถ้าเป็นหน่วยงานที่ใช้ภาษาเยอะ ก็จะมีข้อสอบอัตนัยให้เขียนเรียงความหรือตอบข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ
ในส่วนการสอบภาค ข. ควรอ่านวิชาเฉพาะตำแหน่งให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้ ฝึกทำข้อสอบเก่า โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
การสอบของกรมควบคุมมลพิษข้อสอบจะเป็นอัตนัย ไม่ใช่ปรนัย ข้อสอบมี 4 ข้อ 200 คะแนน บางตำแหน่งก็มีช้อยส์สลับกับอัตนัยบ้าง
ยกตัวอย่างได้ดังนี้ คือ
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการ ถามหนังสือทั้งหมดมีกี่ชนิด แล้วให้ร่างจดหมายตอบกลับไปสำนักงาน ก.พ. ในส่วนของช้อยส์ไม่ยากมาก
ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล
1. ให้อธิบายความหมายการบริหารงานบุคคล การพัฒนาทรัพยากรบุคคล และอนาคตการบริหารงานบุคคลจะเป็นไปแนวทางใด
2. ให้อธิบายพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนข้อปฎิบัติมีกี่ข้อ ข้อห้ามมีกี่ข้อ
3. ให้อธิบายขั้นตอนการประเมินการปฎิบัติงานของบุคคลเป็นอย่างไร และวิธีการให้รางวัลกับพนักงานที่ตั้งใจทำงานมีวิธีการอย่างไร (ประมาณนั้น)
4.ในฐานะที่ท่านได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดฝึกอบรมบุคลากร ท่านจะดำเนินการอย่างไร ให้อธิบายมาโดยละเอียด
การสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน
ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ
1. ให้แนะนำตัวเอง
2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ
3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
การสอบสัมภาษณ์ สำหรับผู้ชายควรโกนหนวดเคราให้เรียบร้อย ผู้หญิงเสื้อผ้าหน้าผมต้องเยี่ยม แนะนำให้สวมสูทด้วยจะดูดีมีระดับ แต่ไม่ควรแต่งหน้าแบบงานรับปริญญาเป็นเจ้าป้าโดยเด็ดขาด คำถามที่จะโดนถาม ส่วนใหญ่จะเป็นประมาณ ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่ง ความรู้เกี่ยวกับกรมฯ ประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน รอบแห่งการสอบภาค ค. หรือรอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง เป็นรอบที่ต้อง อาศัยกำลังภายใน รอบนี้ต่างหาก ที่ต้องระมัดระวังบรรดา เด็กเส้น เด็กฝากทั้งหลาย เป็นรอบแห่งการวิ่งเข้าหาผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ในกระทรวง กรม กอง ต้องรีบนำกระเช้าของขวัญติดไม้ติดมือ ไปกราบไหว้ท่านโดยด่วน ให้ท่านเอ็นดู อุปการคุณ
เนื่องจากคะแนนสอบในภาคนี้ มีประมาณกึ่งหนึ่งของคะแนนข้อเขียน และค่อนข้างมีผลชี้เป็น ชี้ตาย ชี้ได้ ชี้ไม่ได้ วันประกาศผลจะเรียงคะแนนตามลำดับมากไปหาน้อย ต้องรอลุ้นอย่างระทึกใจ ทั้งนี้ในประกาศรับสมัครจะบอกว่ารับจำนวนเท่าใด หากติดลำดับที่เรียกบรรจุในครั้งแรก จะมีหนังสือเรียกตัวไปบรรจุ แต่หากไม่ได้รับการบรรจุในรอบแรก ต้องคอยติดต่อข่าวสารอย่างตลอด บัญชีการสอบแข่งขันจะมีอายุประมาณ 2 ปี กรณีได้การบรรจุในรอบแรก ต้องเตรียมหลักฐานทั้งตัวจริงและสำเนาไปให้พร้อม อันจะได้แก่ ใบรับรองแพทย์ ใบปริญญาบัตร ใบแสดงผลการเรียน ใบทะเบียนสมรส ทั้งคู่สมรส และของบิดา มารดา ขั้นตอนการบรรจุ จะต้องกรอกเอกสาร กพ.7 ซึ่งเปรียบเสมือนทะเบียนประวัติของตัวเราเอง ในวันนั้นอาจจะมีการปฐมนิเทศ ภารกิจของกรมฯ สิทธิผลประโยชน์ที่พึงได้ สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร การทดลองราชการ ระเบียบการลา ฯลฯ
วิชาที่ใช้สอบ มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ( 200 คะแนน )
2. การสอบสัมภาษณ์ ( 100 คะแนน ) เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
รายละดอียดวิชาที่สอบ
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมควบคุมมลพิษ
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมควบคุมมลพิษ
3 กฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการ กรมควบคุมมลพิษ
4 พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
5 การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของประชาชน
6 แนวข้อสอบ พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
7 ถาม - ตอบ เกี่ยวกับปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม
8 ถาม - ตอบ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
9 ถาม – ตอบ มลพิษทางน้ำ
10 แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับมลพิษอากาศ
11 แนวข้อสอบนักวิชาการสิ่งแวดล้อม
12 การเตรียมตัวสอบภาค ค.กรมควบคุมมลพิษ
แหล่งข้อมูลจาก https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/
ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<
แหล่งข้อมูลจาก https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/